Cover บทความ วิธีทำวุ้นดอกไม้

วุ้นดอกไม้ มีขั้นตอนการทำยังไงบ้าง? [ครบถ้วนใน 5 นาที]

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

ขนมหวานที่นอกจากความอร่อยแล้ว หากมีหน้าตาที่สวยงามก็จะยิ่งเพิ่มน่ารับประทานได้มากขึ้น อย่างเมนูขนมวุ้นเอง ก็สามารถทำให้ลวดลายที่สวยงามน่าลิ้มลองได้ ด้วยการใช้แม่พิมพ์รูปดอกไม้ให้กลายมาเป็นเมนู “วุ้นดอกไม้” 

ยิ่งถ้าเพิ่มความละเมียดละไมด้วยการบรรจงแต่งสี หรือมีการผสมผสานรสชาติที่หลากหลายให้เข้าด้วยกันแล้วล่ะก็ รับรองว่าวุ้นดอกไม้ก็จะมีสีสันที่น่าทานน่า รสชาติอร่อย หรือหากทำขายก็รับรองว่าจะต้องถูกใจถูกปากคนที่ได้ทานแน่นอน

บทความนี้ใครอยากได้วุ้นหน้าตาดี แถมอัดแน่นด้วยความอร่อย เราได้นำสูตรการทำวุ้นดอกไม้ ฉบับวุ้นนางเงือกมาแนะนำ มาจดสูตรพร้อมเทคนิคเสริมความอร่อยในการทำ วุ้นดอกไม้ กันเลยค่ะ

ขั้นตอนการทำวุ้นดอกไม้แฟนซี

ขั้นตอนการทำวุ้นดอกไม้แฟนซี

สำหรับใครที่ชื่นชอบ วุ้นดอกไม้แฟนซี ที่ดูหน้าตาน่ารักน่ารับประทาน เราจะพามาดูสูตรทำวุ้นดอกไม้ โดยจะมีทั้งวุ้นกะทิ และวุ้นใส ที่สูตรเด็เคล็ดลับจะอยู่ที่การต้มวุ้นถึง 2 ครั้ง เพื่อดึงรสชาติที่หวานมันจากวุ้นกะทิ และเสริมความหวานสดชื่นของวุ้นใส พร้อมด้วยการตกแต่งสีสันที่ช่วยเพิ่มความสวยงามให้วุ้นดูแฟนซียิ่งขึ้น

ส่วนผสมทำวุ้นดอกไม้แฟนซี

สูตรนี้ทำวุ้นดอกไม้แฟนซีได้ 10 ชิ้น ในขนาดพอดีคำ

ส่วนผสมสำหรับวุ้นกะทิ

  1. ผงวุ้นตรานางเงือก 1 ช้อนโต๊ะ
  2. กะทิ 250 มิลลิลิตร 
  3. นำ้เปล่า 750 มิลลิลิตร 
  4. น้ำตาล 150 กรัม 
  5. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
  6. สีผสมอาหารหลายสีตามใจชอบ
  7. แม่พิมพ์ซิลิโคนรูปดอกไม้ขนาด 3 ซม. จำนวน 10 ถ้วย
  8. ถ้วยพลาสติกใสรูปดอกไม้ ขนาด 3 ซม. จำนวน 10 ถ้วย

ส่วนผสมสำหรับวุ้นน้ำใส

  1. ผงวุ้นตรานางเงือก 1/2 ช้อนชา
  2. นำ้เปล่า 250 มิลลิลิตร 
  3. น้ำตาล 50 กรัม 

ขั้นตอนการลงมือทำวุ้นดอกไม้แฟนซี

ขั้นตอนที่ 1 : แช่วุ้นสำหรับทำวุ้นกะทิ

ใส่น้ำเปล่า 750 ลงในหม้อต้ม ตามด้วยผงวุ้นตรานางเงือก 1 ช้อนโต๊ะ คนทั้งสองเข้าด้วยกัน ก่อนจะพักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีเพื่อให้ผงวุ้นละลายเข้ากัน และให้ผงวุ้นอิ่มตัวก่อนจึงค่อยนำไปตั้งไฟ

ขั้นตอนที่ 2 : ตั้งไฟต้มวุ้น

นำผงวุ้นที่แช่ไว้มาตั้งไฟ และค่อยๆ คนตลอดเพื่อไม่ให้ผงวุ้นติดกันเป็นก้อน เมื่อต้มผงวุ้นสุก หรือจนเดือดอ่อนๆ แล้วให้เช็คว่าผงวุ้นละลายดีหรือยัง ด้วยวิธีการเช็คจากทัพพีที่ใช้คน หากไม่มีเม็ดผงวุ้นติดตามทัพพีแสดงว่าผงวุ้นละลายดีแล้ว 

ทำสำคัญอย่าลืมเช็คตามขอบหม้อด้วย เพราะผงวุ้นมากจะติดอยู่ตามขอบ ขั้นตอนนี้สำคัญมากหากผงวุ้นไม่ละลายให้ดีอาจจะทำให้วุ้นของเราเกิดการคายน้ำภายหลังได้

ขั้นตอนที่ 3 : เติมกะทิลงในวุ้น

เมื่อผงวุ้นละลายดีแล้วให้หรี่ไฟอ่อนลง ใช้ไฟเบาในการต้มต่อแล้วจึงเติมน้ำกะทิ 250 มิลลิลิตร ตามลงไป คนให้กะทิเข้ากับน้ำวุ้นที่เราต้มเอาไว้ แล้วจึงเติมน้ำตาลทราย 150 กรัม ตามด้วยเกลือป่น 1/2 ช้อนชา และคนไปเรื่อยๆ จนน้ำตาลและเกลือจนละลายหมดจึงปิดเตา

ขั้นตอนที่ 4 : เทใส่แม่พิมพ์

นำน้ำวุ้นกะทิที่เราต้มเสร็จแล้วมาหยอดใส่ถ้วยพลาสติกใสรูปดอกไม้ โดยหยอดแค่ประมาณ 3/4 ของพิมพ์ แล้วจึงหยอดใส่แม่พิมพ์รูปดอกไม้ด้วยเพื่อทำเป็นกลีบดอกไม้เล็กๆ โดยใช้ช้อนชาหยอดแค่ประมาณ 1/4 ช้อนชาต่อ 1 แม่พิมพ์เท่านั้น หลังจากนั้นพักทิ้งไว้

ขั้นตอนที่ 5 : แช่วุ้นสำหรับทำวุ้นใส

เราจะมาแช่วุ้นเพื่อส่วนวุ้นน้ำใสใส่น้ำเปล่า 250 มิลลิลิตร ตามด้วยผงวุ้นตรานางเงือก 1/2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน และพักทิ้งไว้รอผงวุ้นละลาย และอิ่มน้ำประมาณ 10 นาที

ขั้นตอนที่ 6 : ต้มวุ้นน้ำใส

หลังจากผงวุ้นอิ่มตัวแล้วนำมาตั้งไฟโดยใช้ไฟกลาง คนไปเรื่อยๆ จนผงวุ้นละลายดีหมด อย่าลืมขูดผงตามบริเวณขอบๆ หม้อด้วยเพื่อให้ผงวุ้นละลายดีในทุกส่วน แล้วจึงเริ่มเช็ควุ้นว่าไม่มีติดตามหม้อ และทัพพี

ขั้นตอนที่ 7 : เติมส่วนผสม

เมื่อผงวุ้นละลายดีแล้วให้เติมน้ำทราย 50 กรัม และคนไปเรื่อยๆ จนน้ำตาลทรายละลายดีหมดไม่มีติดหม้อจึงปิดเตา

ขั้นตอนที่ 8 : ผสมสีอาหาร หยอดลงใส่แม่พิมพ์

ตักแบ่งน้ำวุ้นใสมาผสมกับสีอาหารเพื่อทำวุ้นดอกไม้ โดยหยอดสีผสมอาหารประมาณ 1/4 ช้อนชาลงในน้ำวุ้นใส แนะนำให้หยอดสีผสมอาหารเพียงแค่นิดเดียวเท่านั้น เพราะหากสีเข้มเกินไปอาจจะได้สวยที่เข้มสดดูไม่น่ารับประทาน 

หลังจากนั้นจึงคนให้สีเข้ากับน้ำวุ้น แล้วจึงหลอดลงแม่พิมพ์ดอกไม้ที่เราหยอดน้ำวุ้นกะทิไว้ก่อนหน้านี้ ให้เกือบเต็มแม่พิมพ์เลย ทำแบบนี้วนไปจนครบทุกดอก สามารถเลือกใช้สีผสมอาหารได้ตามใจชอบเลย

ขั้นตอนที่ 9 : พักวุ้นให้เซ็ตตัว

เมื่อทำครบแล้วให้นำวุ้นกะทิที่ใส่พลาสติก และวุ้นน้ำใสที่ใส่แม่พิมพ์ไปแช่ในตู้เย็นเพื่อให้วุ้นเซ็ตตัว โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที

ขั้นตอนที่ 10 : ประกอบวุ้น

นำวุ้นทั้ง 2 มาประกอบร่างกัน โดยเริ่มจากแกะวุ้นน้ำใสที่ผสมสีอาหารในแม่พิมพ์ก่อน วิธีการแกะง่ายๆ ให้ดึงแม่พิมพ์ซิลิโคนออกห่างจากตัววุ้น แล้วค่อยๆ ดันตรงกลางออก แล้วนำไปวางบนวุ้นกะทิในถ้วยพลาสติก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกชิ้น

ขั้นตอนที่ 11 : ประกอบตัววุ้นให้ติดกัน

เมื่อนำวุ้นวางประกบกันแล้ว เพื่อยึดให้วุ้นทั้งคู่ติดเป็นหนึ่งเดียวกันกับตัวฐาน ให้หยอดน้ำวุ้นกะทิลงไปเป็นตัวเชื่อม แล้วนำไปแช่ตู้เย็นเพื่อให้วุ้นเซ็ตตัวอีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 12 : วุ้นดอกไม้แฟนซีพร้อมเสิร์ฟแล้ว

เพียงเท่านี้เราก็จะได้วุ้นดอกไม้กะทิแฟนซีสีสันสวยสดใสแบบหยิบทานง่ายๆ พอดีคำ จะจัดเสิร์ฟบนถ้วยเพื่อให้ทานง่าย หรือนำออกจัดเสิร์ฟแบบเป็นชิ้นเพื่อความสวยงามก็ได้

นี่คือวุ้นดอกไม้แฟนซีที่มีทั้งวุ้นกะทิ และวุ้นใสในดอกเดียวกัน หรือถ้าใครต้องการที่จะใช้น้ำวุ้นกะทิ หรือวุ้นใสอย่างเดียวแบบง่ายๆ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันโดยทำถึงแค่ขั้นตอนที่ 4 แล้วหยอดให้เต็มแม่พิมพ์ รอให้วุ้นเซ็ตตัวก็พร้อมจัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ

เทคนิคหยอดวุ้นดอกไม้ให้สวย น่ารับประทาน

แม่พิมพ์รูปดอกไม้มีให้เลือกหลายแบบมาก หากใครอยากทำให้หน้าตาสวยงามยิ่งขึ้น อาจจะเลือกแม่พิมพ์ที่มีรายละเอียดเยอะ เช่น มีใบไม้ หรือมีหลายกลีบในแม่พิมพ์เดียวกัน จะช่วยเพิ่มความสวยงามเราสามารถทำให้ในดอกเดียวมีหลายๆ สีได้เช่นกัน 

สำหรับวิธีการทำให้ที่ทำให้เราได้วุ้นดอกไม้ที่สวยงาม มีเทคนิคมาแนะนำดังนี้ค่ะ

  1. ให้เลือกใช้อุปกรณ์ “ดรอปเปอร์” ในขั้นตอนการหยอดวุ้น เนื่องจากจะมีหัวดรอปที่ขนาดเล็กกว่าทำให้เราสามารถกะปริมาณการหยอด และบังคับทิศทางการหยอดได้ง่ายกว่าการใช้ช้อนหยอด หรือสำหรับในวุ้นที่มีรายละเอียดน้อยลงมาหน่อย อาจจะใช้ไซริงค์ หรือกระบอกฉีดยาก็จะช่วยให้เราสามารถกะปริมาณการหยอดวุ้นได้สะดวกขึ้นเช่นกัน
  2. เมื่อต้องหยอดวุ้นหลายสีในแม่พิมพ์เดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสีผสมกันจนเละ ควรหยอดน้ำวุ้น และพักทิ้งไว้ให้วุ้นเซ็ตตัวก่อนสักครู่ (แต่ไม่ควรนานเกินเพราะไม่อย่างนั้นวุ้นจะแยกชิ้นไม่ติดกัน) เพื่อให้ครั้งต่อไปที่หยอดวุ้นจะได้แยกสีกัน 
เทคนิคหยอดวุ้นดอกไม้ให้สวย น่ารับประทาน


เทคนิคการทำให้วุ้นดอกไม้ไม่คายน้ำ

เมื่อทำวุ้นเสร็จแล้วหลายคนมักจะมีปัญหาว่าเมื่อทำทิ้งไว้สักพัก วุ้นมักจะมีน้ำไหลเยิ้มออกมา จนอาจจะทำให้สีผสมอาหารเริ่มมีสีตก หรือเรียกว่า “วุ้นคายน้ำ” ทำให้วุ้นดอกไม้ของเรามีหน้าตาดูไม่สวยงาม และดูไม่น่ารับประทานเหมือนตอนเสร็จใหม่ๆ 

ซึ่งปัญหานี้แก้ได้! เพียงแต่เราจะต้องมีความละเอียด และให้ความสำคัญใน 3 ขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ในขั้นตอนแช่วุ้นควรแช่พักทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาที จนกว่าจะผงวุ้นจะละลายดี ถ้าใช้เวลาน้อยกว่านั้นผงวุ้นอาจจะยังเป็นเม็ดมากจนเกินไป
  2. ขั้นตอนการต้มวุ้นควรใช้ทัพพี หรือไม้พายคนเบาๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อกันผงวุ้นติดกันหม้อ รวมถึงบริเวณขอบหม้อ และเพื่อช่วยทำให้ผงวุ้นละลายได้ดี และเร็วขึ้น
  3. เมื่อคิดว่าผงวุ้นละลายดีแล้วต้องเช็คทุกครั้ง ด้วยการสังเกตตามทัพพี หรือไม้พายว่าไม่มีผงวุ้นเป็นเม็ดติดมาตามทัพพีแสดงว่าน้ำวุ้นของเราใช้ได้แล้ว
  4. พักทิ้งไว้ หรือควรนำวุ้นไปแช่ในตู้เย็น เพื่อให้วุ้นเซ็ตตัวได้ดีก่อนนำเสิร์ฟ หรือนำไปจำหน่าย

สรุปท้ายบทความ 

เพียงเท่านี้เราก็จะได้ “วุ้นดอกไม้” เมนูของหวานที่ทั้งหวานมันกรอบอร่อยที่มาพร้อมหน้าตาสวยงาม ชวนหลงรักและทำตามได้ไม่ยาก 

สายของหวานอย่าลืมนำไปทำตามกันนะคะ เพราะเป็นเมนูขนมหวานที่ไม่ว่าใครก็ทานได้ โดยนอกจากจะมีหน้าตาขนมที่สวยงามแล้ว ยังมีรสชาติหวาน หอม อร่อยกลมกล่อม จนหยุดทานไม่ได้อย่างแน่นอนค่ะ

ebook-banner-1