MM-cover-บทความวิธีทำ ทองหยิบ ทองหยอด สูตรชาววัง [ครบใน 5 นาที]

วิธีทำ ทองหยิบ ทองหยอด สูตรชาววัง [ครบใน 5 นาที]

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

ทองหยิบ ทองหยอด อีกหนึ่งเมนูขนมไทยโบราณที่นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องความหอมอร่อยแล้ว ยังพิถีพิถันในการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบชั้นดีรังสรรค์ขนมมีความกลมกล่อมสวยงาม หอมกลิ่นอบรํ่าควันเทียน จัดเป็นงานศิลปะสูงค่าที่ทำให้อิ่มท้อง อิ่มตา อิ่มใจไปพร้อม ๆ กัน และยังแฝงไปด้วยความหมายอันเป็นสิริมงคล

สำหรับ ทองหยิบ ทองหยอด ถือว่าเป็นขนมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ โดยในบทความนี้จะพาไปดูวิธีการทำ ทองหยิบ ทองหยอด สูตรชาววัง ว่าทำยังไงให้เหลืองหวาน หอมอร่อย แบบตำรับสูตรชาววัง

ที่มาของ ทองหยิบ ทองหยอด ขนมไทยโบราณสุดอร่อย

ทองหยิบ ทองหยอดเป็นขนมที่มีต้นตำรับมาจากประเทศโปรตุเกส เนื่องมาจากในสมัยอยุธยา ประเทศไทยได้มีสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ และชาวตะวันตกมากขึ้น ก็เลยมีโอกาสได้รับเอาวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของชาวต่างชาติมาดัดแปลงใช้ในประเทศไทย ทั้งเรื่องวัฒนธรรมการแต่งกาย และอาหารการกิน

ที่มาของ ทองหยิบ ทองหยอด ขนมไทยโบราณสุดอร่อย

ในสมัยอยุธยาที่ประเทศไทยเริ่มคบค้ากับชาวต่างชาติมากขึ้น จึงทำให้ มารี นินยา เดอ กีย์มาร์ ผู้มีเชื้อสายโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และครอบครัวได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ต่อมามารีก็ได้เข้ารับราชการในพระราชวัง ในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น และมียศตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า มีหน้าที่ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง 

แต่ในขณะที่รับราชการอยู่ในวังนั้น ท้าวทองกีบม้า ก็ได้ถ่ายทอดตำรับตำราอาหารจากประเทศโปรตุเกส โดยเฉพาะอาหารหวานจำพวกทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมผิง แก่บรรดาข้าราชบริพารและผู้หญิงที่ทำงานอยู่ภายในวัง จนในที่สุดตำรับการทำขนมทองหยิบ ทองหยอดก็แพร่กระจายในหมู่คนไทยโดยถ้วนทั่วจวบจนทุกวันนี้

ทองหยิบ ทองหยอด พร้อมทำในเวลา 5 นาที

ทองหยิบ ทองหยอด พร้อมทำในเวลา 5 นาที

การทำ ทองหยิบ ทองหยอด ให้อร่อย เคล็ดลับสำคัญอยู่ที่ น้ำซึ่งใช้ทำน้ำเชื่อม จะต้องมีกลิ่นหอม เพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของไข่เป็ด โดยคนโบราณจะทำน้ำลอยดอกมะลิ ซึ่งจะใส่ดอกมะลิ และกระดังงา ลงไปในน้ำสะอาด แล้วแช่ข้ามคืน ก่อนที่จะนำมาต้ม ซึ่งจะแช่ถึงช่วงก่อนเช้ามืดเท่านั้น แล้วก็เอาออก เพื่อไม่ให้ดอกมะลิ ทำน้ำขุ่น จากการที่ ทองหยิบ ทองหยอด นั้น มีลักษณะแตกต่างกันไป ทำให้ส่วนผสมที่ใช้ทำน้ำเชื่อม มีอัตราส่วนที่แตกต่างกัน

ส่วนผสมทองหยิบ ทองหยอด

  • ไข่เป็ด 20 ฟอง
  • น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
  • น้ำสะอาด ½ ลิตร
  • ดอกมะลิ
  • กระดังงา
  • แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ
  • เทียนอบ

ขั้นตอนและวิธีทำทองหยิบ ทองหยอด สูตรชาววังโบราณ

ขนมทองหยิบ ทองหยอด เป็นอีกหนึ่งเมนูขนมไทยที่ถือว่าทำได้ง่าย แต่ต้องอาศัยความพิถีพิถันเล็กน้อยในการทำเพียงเท่านั้น อีกทั้งวัตถุดิบที่ต้องเตรียมก็น้อย ไม่มากมายเหมือนขนมไทยบางชนิด และยังสามารถหาซื้อได้ทั่วไป เราจึงสามารถทำขนมไทยมงคลด้วยตัวเองง่าย ๆ ได้ที่บ้านนั่นเอง

ขั้นตอนการทำทองหยิบ ทองหยอด

  1. ขั้นตอนแรกทำน้ำลอยดอกมะลิ โดยเตรียมน้ำ 1/2 ลิตร ใส่ลงในภาชนะที่สะอาด จากนั้น ใส่ดอกมะลิ และกระดังงา แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน พอถึงช่วงเช้ามืดให้เอาออก เพื่อไม่ให้ดอกมะลิทำน้ำขม
  2. ในส่วนของกระดังงา ให้เอาไฟลนที่กระเปาะของกระดังงา จะช่วยให้มีกลิ่นหอมมากขึ้น
  3. เริ่มทำน้ำเชื่อม โดยตักน้ำลอยดอกมะลิ ใส่ลงในหม้อต้ม ผสมกับน้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม โดยใช้ไฟกลาง คอยคนให้น้ำตาลละลายเข้ากันกับน้ำอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้น้ำตาลไหม้ติดก้นหม้อ
  4. ตอกไข่เป็ด และแยกไข่แดงออกจากไข่ขาว ให้ไม่เหลือเมือกไข่ขาวติดออยู่ จากนั้น ใส่ลงในผ้าขาวบาง 
  5. พอตอกและแยกไข่แดงครบหมดแล้ว ให้รวบผ้าแล้วบิด กรองเอาไข่แดงออกจากผ้าขาวบางลงในชามผสมใบใหญ่
  6. พอได้ไข่แดงที่ผ่านการกรองแล้ว ให้ใช้ตะกร้อมือ ตีไข่ให้เข้ากัน เมื่อมีฟองอากาศเข้า และไข่เริ่มข้นเหนียวดีแล้ว แสดงว่าเนื้อไข่ได้ที่แล้ว พร้อมสำหรับการทำทองหยิบ
  7. เตรียมทำทองหยิบ โดยหากน้ำเชื่อมกำลังเดือด มีฟองฟู่อยู่ ให้เติมน้ำลอยดอกมะลิลงไป สักครึ่งกระบวย เสร็จแล้ว ปิดไฟ ให้น้ำพอร้อนกำลังดี 
  8. จากนั้น ตักเนื้อไข่ หยอดลงไปในหม้อ โดยลักษณะการหยอด ให้เทเนื้อไข่ลงไปแล้วยกช้อนตั้งฉากกับน้ำขึ้นมาทันที จะทำให้ได้เป็นไข่แผ่นกลมเล็ก ๆ ออกมา ทำอย่างนี้ จนกว่าจะเต็มหม้อ หรือ ได้จำนวนตามที่ต้องการ
  9. พอหยอดเสร็จแล้ว ให้เปิดไฟกลางค่อนไฟอ่อน ต้มน้ำให้เดือด กลับเนื้อไข่แต่ละแผ่นเป็นอีกด้านหนึ่ง ให้สุกทั่วกัน พอแต่ละชิ้นพองดีแล้ว ให้ตักน้ำลอยดอกมะลิเพิ่มลงไปเล็กน้อย ให้น้ำหายเดือด เสร็จแล้วปิดไฟ 
  10. หลังจากนั้นเตรียมตักขึ้น โดยเมื่อจะตักขึ้น ให้ตักแต่ละขิ้นแกว่งกับน้ำเชื่อม เพื่อล้างฟองอากาศที่ติดด้านบนออก จะทำให้เนื้อทองหยิบสีเหลืองสวย จากนั้น ตักใส่พักไว้ในน้ำเชื่อมอีกทีหนึ่ง
  11. จับเนื้อไข่ทำทองหยิบ โดยใช้มือข้างที่ถนัดเตรียมจับ ถ้าทำทองหยิบ 3 จีบ ใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง จับลงไปที่เนื้อไข่ แล้วบีบในลักษณะงุ้มขึ้นมา มืออีก 1 ข้างช่วยประคอง จับลงในถ้วยขนาดเล็ก พอจับลงไปได้แล้ว ให้ใช้ไม้หรือเหล็กเส้นขนาดเล็ก ดันเข้าไปตามร่องที่เราจับจีบ จะทำให้ร่องจีบลึกขึ้น และออกมาสวยงาม
  12. สำหรับทองหยอดให้ตักแผ่นไข่ที่หยอดไว้ใส่ถาดใช้มือจับเป็นจีบ ตามต้องการ แล้วหยิบใส่ถ้วยตะไล รอให้เย็นแล้วจึงแคะออกจากถ้วยตะไล
  13. ป็นอันเสร็จ และพร้อมรับประทานได้

เคล็ดลับในการทำขนมทองหยิบ ทองหยอด

  • ควรเลือกซื้อไข่ใหม่ เพราะไข่เก่าจะตีไม่ค่อยขึ้นฟู
  • การผสมแป้งกับไข่แดงต้องคนให้เข้ากันจนเนื้อเนียน แต่อย่าคนนานแป้งจะเหนียว
  • ในขณะที่หยอดทองหยอดต้องให้น้ำเชื่อมเดือดพล่านมีฟองเต็มกระทะ จะช่วยประคองให้ทองหยอดได้รูปทรง
  • ก่อนตักทองหยอดขึ้นจากกระทะต้องแน่ใจว่าทองหยอดสุกแล้ว เพราะถ้าตักขึ้นเร็วเกินไปจะทำให้ทองหยอดเป็นไต
  • ขณะที่รอให้ทองหยอดสุก ควรจะพรมน้ำทีละน้อยจนกว่าขนมจะสุก เพื่อไม่ให้น้ำเชื่อมข้นเกินไป
  • ถ้าใช้แป้งข้าวเจ้ามาทำทองหยอดให้อบควันเทียนแป้งก่อน

ทองหยิบ ทองหยิด ขนมไทยโบราณที่อร่อย และมีเอกลักษณ์

ทองหยิบ ทองหยอด เป็นอีกหนึ่งเมนูขนมไทยโบราณ ที่มีรสชาติอร่อย และหน้าตาน่ารับประทาน ทำให้เป็นหนึ่งในขนมไทยยอดนิยมที่คนชอบทาน และยังขายดีอีกด้วย ซึ่งนอกจากจะรับประทานกันอย่างอร่อยแล้ว ก็ยังมักนำไปเป็นขนมหวานในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส งานบวช งานวันเกิด และงานขึ้นบ้านใหม่ เพราะถือว่าชื่อขนมที่ขึ้นชื่อว่าทองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง จะหมายถึงการหยิบเงินหยิบทอง สานต่อความร่ำรวยเงินทองต่อไปในภาคหน้านั่นเอง